ความปลอดภัยในการปฏิบตัิงาน (Safety Health and Environmental)

อุบัติเหตุคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่างไม่คาดหมายและเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบต่อการทํางานทรัพย์สินและบุคคล
สิ่งต้องคํานึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัยโดยเฉพาะการก่อสร้างการผลิตโดยเครื่องจักร ซึ่งมีความเสี่ยงสูงหากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรในการผลิตได้ผลเสียการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งมีต่อองค์กร ได้แก่ เสียหายต่อทรัพย์สิน เสียชีวิต เสียอวัยวะหรือพิการ เสียอิสรภาพต้องโทษทางกฎหมาย เสียเวลากู้สถานการณ์เสียขวัญและกําลังใจ เสียเวลา ฟื้นฟูสภาพจิตใจ เสียประสิทธิ์ภาพการทํางานตกต่ํา เสียชื่อเสียง เช่น คอนโดที่มีอุบัติเหตุคนเสียชีวิตมักจะขายได้ไม่มาก

อุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน (Hearing Protection Devices)
ในการทํางานที่ต้องสัมผัสกับเสียงที่ดังกว่า 90 เดชิเบลตลอดเวลา การทํางานจะทําให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินในทางวิชาการหากตรวจ วัดเสียงในสถานที่ทํางานดังเกินกว่า 85 เดชิเบลแล้วต้องลดระดับ ความดังของเสียง อาจจะโดยที่แหล่งกําเนิด (Source) และทางผ่าน (Pathway) แล้ววิธีการใช้ PPE. ก็เป็นมาตรการที่ลดอันตรายลงได้

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection)
ผู้ปฏิบัติงาน ควรจะจัดหาสําหรับป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับระบบหายใจในสภาวะแวดล้อมที่มีมลพิษหรือมีอุปสรรคต่อการหายใจ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานควรเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมในการทํางานแต่ละสถานที่ ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันระบบ ทางเดินหายใจเป็นการหายใจเอาอากาศสะอาดเข้าสู่ร่างกายย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่ในสภาวะแวดล้อมในการทํางานบางแห่งที่มีสารอันตรายปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม อาจจะส่งผลกระทบที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพของคนทํางานได้โดยปกติแล้ว

อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า (Eye and Face Protection)
การปฏิบัติงานบางอย่างที่เสี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ดังนั้น อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาจําเป็นสําหรับการป้องกันความร้อน การแผ่รังสีที่เป็นอันตราย การเชื่อมโลหะ การตัดโลหะ

อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Foot Protection)
มีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผู้ที่ต้องทํางานในสถานที่ที่อาจเกิดอันตรายกับเท้าได้ซึ่งผู้ปฏิบัติงานควรจัดหารองเท้าหุ้มข้อหรือ รองเท้าที่เสริมด้วยอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ที่เรียกว่า รองเท้า นิรภัย (Safety Shoes) เป็นรองเท้าที่สวมใส่ในการทํางานเพื่อป้องกัน การบาดเจ็บของเท้าอาจจะเป็นรองเท้าธรรมดาที่ใช้งานทั่วไป

อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน (Hand and Arm Protection)
ถุงมือนิรภัยแบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่
ก. ถุงมือป้องกันความร้อน
ข. ถุงมือป้องกันสารเคมี
ค. ถุงมือป้องกันการขีดข่วนของมีคมและรังสีอาจเป็นถุงมือผ้าถุงมือตาข่ายลวด ถุงมือหนัง
ง. ถุงมือยางป้องกันไฟฟ้าการทํางานกับไฟฟ้าเป็นงานที่เสี่ยงค่อนข้างสูงจึงจําเป็นต้องเลือกถุงมือหรือปลอกแขนป้องกันไฟฟ้า
จ. ถุงมือติดผนังตู้สําหรับติดผนังตู้ต้องสอดแขนจากภายนอกเข้าไปเพื่อป้องกันการปนเปื้อน หรืออันตรายที่จะเกิดกับผู้ทํางาน
ฉ. แผ่นรองป้องกันมือ เป็นแผ่นวัสดุ 2 แผ่นประกบกันใช้ฝ่ามือสอดเข้าไปเพื่อป้องกันอันตรายจากการขัด เสียด สีอย่างแรง

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง
การทํางานในที่สูงหรือที่ต่างระดับเป็นงานที่เสี่ยงจําเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
ก. เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt)
ข. สายรัดตัวนิรภัย (Safety Harnesses)
ค. สายรัดช่วยชีวิต (Life Line)

อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection)
อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ สําหรับป้องกันศีรษะจากการกระแทก ชน หรือวัสดุจากที่สูงมากระทบโดยอุปกรณ์จะมีลักษณะแข็งแรง และทําด้วยวัสดุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประกอบด้วย หมวกนิรภัยซึ่งใช้ป้องกันการกระแทก การเจาะทะลุของวัสดุที่ตกลงมากระทบกับศีรษะหรือใช้ต้านทานกระแสไฟฟ้า ทนไฟไหม้ หมวกกันศีรษะชน